วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สว่านไฟฟ้า(Drills)เป็นเครื่องมือช่าง ที่ช่วยอำนวยความปลอดภัยไม่น้อยในการปรับปรุงซ่อมแซมอุปกรณ์ หรือวัสดุที่ชำรุดทรุดโทรมเสียหาย


สว่านไฟฟ้า(Drills)เป็นเครื่องมือช่าง ที่ช่วยอำนวยความปลอดภัยไม่น้อยในการปรับปรุงซ่อมแซมอุปกรณ์ หรือวัสดุที่ชำรุดทรุดโทรมเสียหาย สว่านไฟฟ้าสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ใช้ได้ทั้งงานช่าง งานประดิษฐ์ และงานตกแต่งทั่วไป สว่านไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับช่างเลยก็ว่าได้ การมีไว้ติดบ้านสำหรับบุคคลทั่วไปนั้น จะมีเก็บไว้หรือไม่ก็ได้ ซึ่งแล้วแต่ความจำเป็น โดยทั่วไปแล้ว สว่านไฟฟ้าจะมีหลากหลายแบบซึ่งแต่ละชนิดก็ใช้งานในลักษณะต่างๆกัน สว่านไฟฟ้าบางตัวสามารถใช้งานเฉพาะ เจาะ ยึด ขันน๊อต แต่บางรุ่นอาจจะมีความสามารถ เจาะกระแทก เพิ่มเติมเข้ามาด้วย เราควรเลือกใช้งานสว่านไฟฟ้าให้เหมาะกับงานที่ทำในแต่ละอย่าง
 สว่านมีแบบไหนบ้างมาดูกัน
1. สว่านมือ เป็นสว่านที่ใช้แรงมือ เหมาะสมกับงานที่ไม่ใหญ่มาก
2. สว่านไฟฟ้า เป็นสว่านที่ใช้พลังงานจากไฟฟ้า เหมาะกับงานหนัก มีให้เลือกหลายหมวด
3. สว่านแบบมือถือ (Hand-held drill)  เป็นแบบที่ใช้งานโดยใช้มือถือตัวเครื่องเอาไว้ทั้งหมด ซึ่งก็มีอีกหลายประเภทแยกย่อยลงไปอีกตามการใช้งานเพื่อให้เราสามารถเลือกซื้อสว่านไฟฟ้าที่เหมาะกับงบประมาณและครอบคลุมการใช้งานที่เราต้องการทั้งหมด
4. สว่านไฟฟ้า แบบธรมดา (Pistol-grip (corded) drill)
เหมาะสำหรับการเจาะไม้ อลูมีเนียม และเหล็กที่ไม่หนามาก สว่านแบบนี้มีจุดดีตรงที่มีระบบการทำงานที่เรียบง่าย  มีราคาถูก ส่วนข้อเสียที่เห็นได้ชัด คือมีความหลากหลายในการใช้งานน้อยกว่าสว่านประเภทอื่นๆนั่นเอง
5. สว่านกระแทก (Hammer drill)
เป็นสว่านที่เพิ่มความสามารถในการเจาะคอนกรีตเข้ามา โดยในการเจาะคอนกรีตนั้นเราจะเจาะโดยใช้แค่การหมุนดอกสว่าน(แบบสว่านปกติ)ไม่ได้ แต่ในขณะที่ดอกสว่านหมุนนั้นจะต้องมีการกระแทกร่วมด้วย ในสว่านกระแทกนั้นหัวจับดอกสว่าน(chuck) จะมีการเคลื่อนที่สลับหน้าหลังไปด้วยอย่างฉับพลันในขณะที่หมุน โดยเขาจะวัดความเร็วในการกระแทกเป็น BPM (Blows per minute) แปลว่า การกระแทกกี่ครั้งต่อหนึ่งนาที สว่านโรตารี่ (Rotary hammer drill) เป็นสว่านที่มีความสามารถในการเจาะคอนกรีตเช่นกัน แต่ความแตกต่างระหว่าง สว่านกระแทกกับสว่านโรตารี่อยู่ตรงที่ ระบบกลไกการกระแทกที่พัฒนาขึ้น ทำให้สว่านโรตารี่มีแรงกระแทกที่มากกว่ามาก มากเสียจนถ้าใช้หัวจับดอกสว่านแบบธรรมดาดอกสว่านอาจจะกระเด็นหลุดออกมาเลยก็ได้ สว่านโรตารี่จึงจำเป็นต้องใช้หัวจับดอก(chuck) แบบพิเศษที่เรียกว่า SDS (Special Direct System)  ซึ่งถูกพัฒนามาเพื่อรองรับแรงกระแทกของสว่านชนิดนี้
6. สว่านไร้สาย
นับเป็นสว่านที่ได้รับความชื่นชอบอีกชนิด เพราะความสะดวกในการใช้งาน เป็นสว่านที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ซึ่งในปัจจุบันสว่านไร้สายมีลักษณะการใช้งานที่แทบจะเหมือนกับสว่านต่อสายไฟ มีทั้งสว่านกระแทกไร้สาย สว่านโรตารี่ไร้สาย และอื่นๆ แต่ที่เห็นจะเป็นประโยชน์ใช้สอยอันโดดเด่นที่สุด คงจะเป็นการใช้ขันสกรูนั่นเอง (ใช้เป็นไขควงไฟฟ้า(Power Screwdriver)) โดยปกติแล้ว ช่างจะใช้สว่านธรรมดาในการขันสกรู แต่การใช้สว่านในการขันสกรูมีข้อผิดพลาดตรงที่บางครั้ง สว่านมีความเร็วมากเกินไป และไม่มีตัวกำหนดแรงบิด แปลว่า หลายครั้งที่สกรูจะกินเข้าเนื้อไม้มากเกินไป หรือในกรณีวัสดุอ่อนเช่น MDF การใช้แรงมากไปอาจทำให้เกลียวหวานเลยก็ได้ แต่ในสว่านไร้สายหลายรุ่นเราสามารถตั้งค่าแรงบิดได้ (Torque Control) เพื่อให้เราสามารถขันสกรูด้วยแรงบิดที่พอดีได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น